วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

กล้วยป่า..แหล่งน้ำยามคับขัน

แหล่งนี้ำอีกแหล่งหนึ่งที่ปลอดภัยสำหรับ การเดินป่า...
ในกรณีจำเป็นจริงๆ การดึ่มน้ำจากต้นกล้วย ถือเป็นทางรอดทางหนึ่งที่ผมเคยใช้เพื่อรักษากำลังไว้

น้ำจากต้นกล้วยที่พูดถึงคือหยวกกล้วย
บริกเวณต้นกล้วยจะประกอบด้วยกาบกล้วย ที่ล้อมกันอยุ่เป็นชั้นๆ ภายในเป็นใบอ่อนของกล้วย หรือหยวกกล้วย
วิธีการดึ่มน้ำจากต้นกล้วยก็คือการ ตัดต้นกล้วย หรือการเจาะต้นกล้วย หรือการบากต้นกล้วยเพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงที่ใช้ลำเลียงน้ำไปเลี้ยงดู สังเคราะห์อาหารนั่นเอง
รสชาติของน้ำที่ดึ่มจากต้นกล้วย คือฝาดๆ หรือออกรสขมนั่นเอง แต่ไม่มีอันตรายสามารถดึ่มได้ ในกรณีจำเป็น

นี่คือเทคนิคเล็กๆ น้อย ๆ ที่ผมใช้เอาตัวรอดยามต้องเดินทางในป่า

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดับกระหายด้วยต้นหวานกลางป่า

ดับกระหายด้วยต้นหวานกลางป่า

ก่อนหน้านี้ผมเรียนรู้การดับกระหายยามน้ำที่เป็นเสบียงหมด ด้วยการหาแหล่งน้ำจากลำธาร ต้นกล้วยและเถาวัลย์สองท่อ แต่ไม่เคยรู้เลยว่ายังมีหวายเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่สามารถให้น้ำดับกระหายได้เช่นเดียวกัน แถมรสชาติยังดีกว่า

การดื่มน้ำจากต้นหวาย ก็เหมือนๆ กับการดื่มน้ำจากเถาวัลย์น้ำนั่นเอง

ก่อนอื่นทำความรู้จักกับต้นหวายก่อน...ต้นหวายในป่านั้นมีอยู่หลายพันธุ์หลายขนาด ขอแนะนำหวายสำหรับที่จะหาน้ำเป็นหวายขนาดใหญ่ เนื่องจากจะมีน้ำในปริมาณที่มาก...อีกทั้งยังสังเกตุง่ายเพราะต้นใหญ่กว่า..

หลักๆ ทำความรู้จักกันก่อนว่า หวายขนาดใหญ่นั้น หลักๆ มีสองประเภทแบ่งตามเนื้อหวาย คือ หวายที่มีสีเนื้อปกติและหวายที่มีนื้อสีเข้ม เรียกว่าหวายแดง(นิยมนำมาทำด้ามมีด) หวายทั้งสองชนิด(*บางท่านว่า..หวายทุกชนิด) สามารถใช้น้ำดื่มได้

น้ำดิ่มที่ได้จากหวายมาจากไหน น้ำดื่มที่ได้จากหวายก็คือ น้ำเลี้ยงของต้นหวายนั่นเองครับ วิธีการตัดก็ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณหนึ่งช่วงแขน

*ผู้รู้บอกว่า หวายถึงเถาย์สามารถนำมาหุงข้าวได้เป็นหม้อสนามเลยนะ..ถ้าเราตัดแล้วก็รอให้มันหยดแล้วรองน้ำไว้ ....

*การกินน้ำจากหวาย หรือต้นไม้อื่น...ต่อเมื่อถึงคราวจำเป็นเมื่อเราขาดน้ำเท่านั้น

คลองมะเดื่อ ความเชื่อและศาสตร์ป่า

ชีวิตเราพบพานเรื่องราวมากมาย...ใช้ชีวิตหลากหลายรูปแบบหนึ่งในรูปแบบเวลาที่ผมใช้คือ..การใช้ชีวิตในป่า

วันนี้ “ทาซานบอย”ชวนมาเรียนรู้เรื่องวิถีธรรมชาติในชื่อทริปว่า “ลมพัดใบไม้ไหว” สอนให้เรารู้สติในทุกจังหวะชีวิต สอนให้รู้จัดสังเกตุเทือกเขา สอนให้รู้จักสังเกตุเป้าหมาย สอนให้รู้จักสังเกตุต้นไม้ สอนให้รู้จักสังด่านสัตว์ สอนให้รู้จักสังเกตุลำธาร สอนการเคารพป่า


ใจความสำคัญที่ได้มาคือ การเดินป่านั้นต้องรู้จักสังเกตุต้นไม้ รู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกจดจำให้ได้...ซึ่งจะมีประโยชน์กับเราเมื่อตอนที่เราหลงหรือไม่แน่ใจในเส้นทาง...ความทรงจำจะช่วยเตือนเราได้ ช่วยให้เราสามารถคลำทางกลับได้
การสังเกตุ กิ่งไม้ใบไม้ ใบไม้กิ่งไม้ที่(กีดขวาง)ตามเส้นทางที่เราเดินไป อาจะจำเป็นต้องมุด ต้องลอดผ่านไป มีจุดที่พึงสังเกตุคือ...คือใบไม้บางชนิดเป็นที่อยู่ของเมลง หรือพวกหนอนบุ้งจำเป็นต้องระวังในการมุดการลอดผ่าน
ใยแมลงมุม กิ่งไม้ขวางหน้า...ปกติพรานป่าหรือนักเดินป่าเค้าจะไม่เดินตัดโดยไม่จำเป็นแต่จะใช้วิธีมุดลอดผ่านไป

ทางไหนควรไป...ทางไหนไม่ควรไป โดยปกติทางไหนที่ทึบตัน พรานเค้าจะไม่มุดหรือตัดเข้าไป แล้วจะไปทางไหนละ...ในทุกป่า..จะมีเส้นทางเดินของสัตว์หรือทางด่าน ที่เราสามารถอาศัยเดินได้ ให้สังเกตุร่องรอยของใบไม้ที่โดนเหยียบ ร่องรอยก้อนหินที่พลิกหรือหลุดจากตำแหน่งเดิม ร่องรอยของต้นไม้เล็กๆ ที่ถูกชนถูกเบียด ช่วยให้เราอาศัยสังเกตุเส้นทางได้

***ความรู้ที่ได้จากครั้งนี้...มากมายหลายเรื่อง เอาไว้มาเขียนเป็นเรื่องๆ ไปแล้วกันครับ เด๋วจะยาวเกินไป