วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เรื่องเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่น กับไทย ยามเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

กลายเป็นเรื่องให้ต้องเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่น กับไทย ในยามเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ว่าเราเป็นอย่างไร และเขาเป็นอย่างไร ผมไปเจอในFacebook มาครับ จึงหยิบเอาบางช่วงบางตอนที่เด็ดเด็ด มาฝาก ตามนี้







ญี่ปุ่น :: ลดราคาของและแจกฟรี
ไทย
 :: ของขึ้นราคาตามระดับน้ำ
ญี่ปุ่น 
:: ซื้อน้ำได้คนละขวดเท่านั้น
ไทย
 :: กักตุนอาหารใครมีตังค์ซื้อได้เท่าไหร่ซื้อไป
ญี่ปุ่น :: เข้าแถวต่อคิวรับของบริจาค
ไทย :: แย่งกันแล้วแย่งกันอีก ฉันกลัวไม่ได้
ญี่ปุ่น :: แจกน้ำคนละสองขวดแต่เอาขวดเดียวกลัวไม่พอคนอื่น
ไทย :: ฉันได้มากเท่าไหร่ยิงดี ของฟรี
ญี่ปุ่น :: ร่วมกันสร้างร่วมกันแก้ไข
ไทย :: แตกแยกไปของใครของมัน
ญี่ปุ่น 
:: ช่วยกันป้องกันก่อสร้างส่วนที่พังไป
ไทย :: ช่วยกันทำลาย ฉันท่วม เธอก็ต้องท่วม
ญี่ปุ่น :: ส่งแจ้งเตือนแผ่นดินไหวทางโทรศัพท์
ไทย
 :: น้ำมาฉันจุดพลุเตือน บ้านฉันไม่ท่วมแต่ฉันสะดุ้ง
ญี่ปุ่น :: ไม่มีของหายไม่มีทรัพย์สินโดนขโมย
ไทย :: เป็นช่วงนาทีทองของขโมยจริงๆ
ญี่ปุ่น :: แก้ไขสถานการณ์ได้ดีจากทุกฝ่าย
ไทย :: ตอนนี้มีฝ่ายไหนบ้างฉันยังไม่รู้เลย ฉันช่วยตัวเองตลอด
ญี่ปุ่น :: พร้อมใจกันตัดไฟเพื่อช่วยชาติ
ไทย
 :: อย่าตัดไฟนะเดี๋ยวฉันออนเฟสไม่ได้ 
ญี่ปุ่น :: บริจาคร้อยล้านไม่ต้องออกข่าว
ไทย :: บริจาคหมื่นเดียวก็ออกข่าวเจ็ดวันเจ็ดคืน
ญี่ปุ่น :: เสียสละตัวเองเพื่อส่วนรวมไปซ่อมโรงไฟฟ้าจนตาย
ไทย :: ฉันกลัวจระเข้ไม่กล้าลงน้ำ(จะบ้าตาย)
ญี่ปุ่น :: หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือทั้งวันทั้งคืน
ไทย :: บ้านอยู่ลึกน้ำลึกเข้าไปไม่ได้ รอพรุ่งนี้เช้านะ
ญี่ปุ่น :: แก้ไขปัจจุบันให้ดีที่สุด
ไทย :: เตรียมพร้อมรับมืออนาคตเท่านั้น(แนวคิดเก๋ๆ)
ญี่ปุ่น :: สั่งอพยพคนได้อย่างรวดเร็ว
ไทย :: ประกาศออกโทรโข่งแล้วแต่ไม่ได้ยิน โทรโข่งถ่านอ่อน



ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยมาก พื้นที่เป็นเกาะ มีภัยธรรมชาติ จากลมพายุ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยๆ พื้นที่ก็น้อย อาหารการกินไม่สะดวกสบายเหมือนบ้านเรา แต่เนื่องจากประชาชนในประเทศของเขามีประสิทธิภาพ ขยันขันแข็ง มีวินัย ใฝ่หาความก้าวหน้า และมีหลักในการปกครองประเทศที่ดี พลเมืองมีความสามัคคี มีความรักชาติ จึงส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนา และเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกก็ว่าได้ 
ส่วนพี่ไทย ประเทศมีสภาพภูมิศาสตร์ดีเยี่ยม ไม่มีภัยธรรมชาติที่ รุ่นแรง หากเปรียบน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ กับแผ่นดินไหว และสึนามิที่ญี่ปุ่น เขายิ่งกว่าเราหลายเท่า อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่ที่ยังขาดอยู่คือ พี่ไทยยังขาดวินัย ยังมีความมานะพากเพียรไม่พอ ถึงแม้ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ มีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่เรายังเห็นแก่ความสะดวกสบายของตน เรานำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติเพียงบางส่วน เช่น มีน้ำใจ มีเมตตา แต่ขาดความมานะ พากเพียร และวินัย ทำให้แม้ประเทศไทยจะน่าอยู่กว่าหลายๆ ประเทศ แต่ก็ยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ 
เชื่อว่าหลังผ่านวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ไป นี่คงเป็นบทเรียนสำคัญที่ เราได้เรียนรู้พร้อมๆกันทั้งประเทศ ว่าเราควรทำอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ เรียนรู้จักที่จะเพิ่งตนเอง มากว่ารอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เรียนรู้จักการเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เรียนรู้การบางปัน และที่สำคัญที่สุดคือเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ใช่เอาชนะธรรมชาติ ...

ที่มาบทความจาก FW mail

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กาลักน้ำ...ความรู้พื้น สู่แนวทางการแก้ปัญหา วิกฤติน้ำ ปี 54

กาลักน้ำ..คำนี้อาจจะไม่คุ้น หรือนึกไม่ออกสำหรับ หลายๆ คน แต่ถ้าได้เห็นภาพ หลายคนคงร้องอ๋อเพราะก็เห็นเป็นปกติ อยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน และมันก็เป็นอะไรที่สามารถทำได้จริง
ดูหลักการณ์ทำงานกันดีกว่า
 จาก http://th.wikipedia.org/
กาลักน้ำ (อังกฤษ: siphon หรือ syphon) เป็นกระบวนการถ่ายเทของเหลว จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยหลักการของแรงดันน้ำมาช่วย ในการทำกาลักน้ำ จะต้องมีหลอด หรือท่อสำหรับการถ่ายเทของเหลวนั้นๆ โดยที่ของเหลวที่จะถ่ายออก จะต้องมีระดับความสูงมากกว่าระดับของเหลวในภาชนะที่รองรับ

 ประวัติ

คาดว่าผู้ค้นพบหลักการกาลักน้ำเป็นคนแรก คือ "คเทซิบิอัส" (Ctesibius) [1] "เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย" (Hero of Alexandria) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขาได้เขียนเรื่องนี้เอาไว้อย่างละเอียด ในหนังสือชื่อว่า "พนิวมาติคา" (Pneumatica) [2] แต่ภาพสลักบนผนังศิลาของอียิปต์เมื่อ ราว 1500 ปีก่อนคริสตกาล ก็ยังปรากฏภาพการใช้หลักการกาลักน้ำเพื่อดึงของเหลวจากไหขนาดใหญ่ [3]
มีประวัติเล่าว่ากองทัพเรือไบแซนไทน์เคยใช้หลักกาลักน้ำเป็นอาวุธ และวิธีการที่นิยมโดยทั่วไป ก็คือ ใช้เพื่อพ่น "ไฟกรีก" (Greek fire) อันเป็นสูตรน้ำมันเผาไหม้ ให้พุ่งผ่านท่อทองเหลืองขนาดใหญ่ ไปตกบนเรือของข้าศึก โดยมีการเก็บของเหลวไว้ในถังร้อนอัดที่ถูกอัด และพ้นผ่านท่อดังกล่าวโดยมีอุปกรณ์บางอย่างช่วยสูบ ส่วนผู้ควบคุมเครื่องนั้นจะซ่อนหลังโล่โลหะขนาดใหญ่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเป็นการใช้หลักกาลักน้ำจริงๆ หรือใช้อุปกรณ์สูบน้ำ ที่ใช้แรงดันอากาศเพื่อพ่นไฟดังกล่าวออกมา


ตัวอย่างการนำไปใช้ http://www.proton.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=1446&Itemid=4




http://www.ninekaow.com/wbs/?action=view&sub=04&id=0000943