วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เฟินกระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้ เป็นเฟิน ที่พบกระจายพันธ์ในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดเป็นเฟินอิงอาศัย เกาะตามต้นไม้ และโขดหิน เหง้ามีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบมี 2 แบบ แบบแรกลักษณะเหมือนใบโอ็คห่อหุ้มเหง้า ไม่มีก้านใบ และไม่สร้างสปอร์  เป็นรูปไข่ ไม่มีก้านใบ กว้างประมาณ 20 ซม. ยาวได้ถึง 32 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ
 แบบที่สองใบแฉก มีหลายแฉก กว้างประมาณ 50 ซม. ยาวได้ถึง 80 ซม. ขอบใบเว้าลึก เนื้อใบเหนียว สีเขียวหม่น เป็นมัน ก้านใบยาว กลุ่มอับสปอร์กลมหรือรูปขอบขนานเรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นใบหลัก

สามารถปลูกเลี้ยงได้ง่าย อาจปลูกในกระถางไม้ หรือให้เกาะตอไม้ก็ได้ 

ชื่อพื้นเมือง : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.

ชื่อวงศ์ : POLYPODIACEAE
ประโยชน์ : ใช้เป็นสมุนไพรบดพอกแก้บวม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ใครที่เดินป่า อาจเจออยู่บ่อยๆ จำเป็นอย่างไรสามารถ ใช้หัวทุบพอกแก้บวม จากการโดนความร้อนได้ครับ