วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เขาหลวง นครศรีธรรมราช

เขาหลวง นครศรีธรรมราช
อลังการขุนเขา ป่าใต้
หนึ่งในดวงใจ ต้องไปให้ถึง ...นั่นคือ ที่มา ความหวัง จากวันแรก ๆ แห่งการเริ่มต้นท่องเที่ยว เรื่องมันผ่านมานาน แล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่ซึ่ง มนุษย์ตัวจ้อย อย่างเรา ได้ขึ้นสู่ยอดเขาสูดสุด(1800 เมตร จาากระดับน้ำทะเล) ในวันแห่งความสำเร็จที่ผมได้รับครั้งนี้ มีผลมาจาก เพื่อน ๆ ที่รู้จัก ก่อนอื่นก็อยากบอกกล่าวท้าวความให้เขาใจ กันสักนิด เขาหลวง นครศรีธรรามราช

-------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะภูมิประเทศ

ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ตำบลท่าดี ตำบลกำโลน ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง ตำบลยางค้อม ตำบลพิปูน ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน ตำบลทอนหงส์ ตำบลบ้านเกราะ ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี ตำบลช้างกลาง ตำบลสวนขัน กิ่งอำเภอช้างกลาง และตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ ตำบลนาเหรง กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือระหว่างเส้นรุ้งที่ 08 องศา 22 ลิบดา - 08 องศา 45 ลิบดา เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 99 องศา 37 ลิบดา - 99 องศา 51 ลิบดา ตะวันออก พื้นที่อุทยานแห่งชาติครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก มีที่ราบตามหุบเขาเล็กน้อย ดินบนภูเขาเป็นดินที่เกิดจากการผุสลายของหินแกรนิต มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว คลองท่าแพ คลองระแนะ และคลองละอาย อันเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

ด้วยเหตุที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตั้งอยู่บนคาบสมุทร จึงได้รับลมมรสุมที่พัดผ่านทะเลทั้งสองด้าน ทำให้ฝนตกเกือบตลอดปีและมีอากาศค่อนข้างเย็น มีเมฆปกคลุมถึงร้อยละ 14-15 ทำให้เกิดฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมกราคม ปริมาณฝนตกมากในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 3,500-4,000 มิลลิเมตร และฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15-17 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม และอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน

พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองด้าน ทำให้มีสภาพชื้นและปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง พืชพรรณไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นสังคมพืชป่าดงดิบ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
ป่าดิบเขา เป็นป่าที่ขึ้นอยู่เหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1000 เมตรขึ้นไปจนถึงยอดเขาที่มีเมฆหมอกคลุม พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เหมือด กำยาน แดงเขา ก่อเขา บุญนาคเขา จำปูนช้าง ฯลฯ พืชคลุมดินส่วนใหญ่คล้ายป่าดิบเขาระดับต่ำแต่จะมีพืชหญ้าขึ้นมาก ได้แก่ บัวแฉกใบใหญ่ บัวแฉกใบมน หวายเหิง หวายแซ่ม้า หวายเขา เป็นต้น
ป่าดงดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเกือบทั้ง กุหลาบเขาหลวง เต่าร้างยักษ์ หวายหอม หวายไม้เหมด พืชประจำถิ่นและไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว ตะเคียนทราย สยาขาว กระบากดำ กระบากขาว พันจำ หลุมพอ เอียน เชียด อบเชย เทพทาโร จำปาป่า ก่อ แดงคาน แดงเขา ยมป่า ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีกุหลาบพันปีท้า ไผ่เกรียบ ก้ามกุ้งหลายชนิด และมหาสดำซึ่งเป็นเฟินต้นประจำถิ่นของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นต้น
พืชอิงอาศัยซึ่งเกาะตามลำต้นและกิ่งไม้ นอกจากมอสและเฟินแล้ว ยังพบพืชที่น่าสนใจโดยเป็นพืชหายากหลายชนิด เช่น ระย้าหยก และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่มากกว่า 300 ชนิด บางชนิดเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบเพียงแห่งเดียวในโลก เช่น สิงโตพัดเหลือง สิงโตอาจารย์เต็ม ขนตาสิงโต เอื้องสายเสริตสั้น เอื้องแดงหิน กล้วยปลอก เอื้องคีรีวง เป็นต้น
ผลของการสำรวจชนิดและประชากรสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง เมื่อปี 2534 พบว่า อุทยานแห่งชาติเขาหลวงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 327 ชนิด สัตว์ป่าที่พบเห็น เช่น สมเสร็จ เลียงผา ลิงกัง ลิงเสน ค่างดำ ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะนีธรรมดา เสือลายเมฆ เสือดำ เสือโคร่ง หมีหมา เก้ง กวางป่า เม่นหางพวง สัตว์จำพวกนก เช่น นกอินทรีดำ ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหว้า นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกกก นกชนหิน นกโพระดกหลากสี นกพญาปากกว้างท้องแดง และนกกินปลี ฯลฯ
นอกจากนี้ ในบริเวณเขาหลวงยังพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่หายากหลายชนิด เช่น งูลายสายมลายู เต่าจักร งูหลามปากเป็ด งูสามเหลี่ยมหัวหางแดง จิ้งจกนิ้วยาวกำพล ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด จิ้งเหลนเรียวปักษ์ใต้ งูเขียวดงลาย กบเขาท้องลาย กบตะนาวศรี เขียดงูศุภชัย เป็นต้น ในบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธารของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จะพบสัตว์น้ำในปริมาณน้อย เนื่องจากมีกระแสน้ำไหลแรง ปริมาณสารอาหารในน้ำมีน้อย พื้นน้ำเป็นหินและทรายไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ที่พบได้แก่ ปลาพลวง ปลาแฮะ ปลาไส้ขม ปลาซิวน้ำตก ปลาอีกอง ปลาติดหิน ปูน้ำตก เป็นต้น
ข้อมูลจาก กรมอุทยานแห่งชาติ

------------------------------------------------------------------------------




เอาละมาว่ากันด้วยเรื่องการเดินทางครั้งนี้กันดีกว่า ที่มาคือ...นัดแนะกันหารเฉลี่ยค่าใช้จ่าย นัดหมายเจอกัน ที่สายใต้
เป้าหมายคือใช้บริการรถประจำทางไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช
....และเนื่องด้วยเหตุว่า เราเดินทางกันในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกราณต์ ด้วยปัญหาการจรจร ทำให้กว่าเราจะมาถึงนครฯ ก็เที่ยงวันผ่านไปแล้ว
เอาน่า ... มาแล้วก็คือมา ไปหาขนมจีนกินกันดีกว่า เสียใจครับ ไม่มีร้านเด็ดมาแนะนำ เพราะมื้อนี้พี่ๆ ที่เป็น staff บ้านคีรีวง เป็นคนจัดไว้ให้เป็นมื้อเช้า แต่เรามาช้า เลย เอามาเป็นมื้อเที่ยงกว่า ๆ ซะงั้นเอง











กว่าจะเริ่มเดินได้ ก็ สีโมงเย็น มาใกล้ ๆ แล้ว
ดีครับ วันนี้จะได้ไม่ต้องเดินไกลนัก
แค่เนินแรกก็ เหงื่อแตกซิก.... ปวดขา...ล้าหมดแล้ว
เกือบเป็นลม เพียงแต่เดินไม่ไกล เราก็ได้เจอแล้ว..... สิงโตอาจารย์เต็ม




เย่ ๆๆ ในที่สุดก็ถึงแล้ว คืนนี้เราจะพักกันที่นี่แหละ และมีน้ำให้อาบด้วย อาบๆ ซะ เพราะ ต่อจากนี้ อย่าหวังจะหาอาบอีก จนกว่าจะกลับ



เช้าวันใหม่ ตื่นกันอย่างว่องไว แหม เมื่อคืนกว่าจะผ่น ลมนาวที่ผ่านใต้เปลมาได้ สั่นเป็นลูกนกไปตาม ๆ กัน วันนี้อากาศดี เราเดินกันเรื่อย ๆ เป้าหมายคือ ไปทานมื้อเที่ยงที่ ป้าย 1800 และ เราก็ทำได้ แหม เก่งเหมือนกันนะ พวกเรา







เมื่อผ่านยอด 1800 มา เอาละ ตอนี้ ละ ที่จะ ต้องมา ตาลายกับ บรรดากล้วยไม้ป่า ซึ่ง ทริปนี้ที่เจอกมากที่สุด แน่นอนครับ เอื้องสายเสิด อันดับต่อมาก็ สิงโตพัดเหลือง บ่าย นี้ เราเดินกันไปตามสันเขา ชมกล้วยไม้ไปเรื่อย ๆ เส้นทางเดินยังคงตามด้ายมงคล ที่ สมาชิกในทริปมาลากไว้ เมื่อครั้งจตุคาม กำลังมาแรง (สองปีแล้ว) หลังจากตามมาไกล เราก็แยกไปไปจากด้ายมงคล มุ่งหน้าสุ่ ลานที่จะตั้งแค้มป์ พักในคืนนี้ หลังจากเมื่อคืน ที่ผ่านมา ความหนาวได้เตือนเราให้รู้ตัวล่วงหน้าแล้ว คืนนี้ จึงมีสมาชิกบางคนยินดี นอนปลาทู ดีกว่า จะให้ลมมันเย็น

ผ่านกันไปอีกคืน ...ช่างเป็นคืนที่คึกครื้นดีจริง ๆครับ สำหรับความสนิทสนม ระหว่าง staff กับ นักท่องเที่ยวอย่างเรา เช้านี้ อากาศดีจัง หมอกกนา ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นมาจากเบื่องล้าง มันเป็นความรู้สึกประทับใจ ของ คนไฝ่สูง (นักเดินป่า ท้าความสูง)ทุกคน แน่นอนละ ว่าผมก็เป็นอีกหนึ่ง ที่ ต้องการจะ ขึ้นให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ....














หลังจากเก็บภาพความประทับใจ กันไปเรียบร้อยแล้ว เราก็เดินตามสันเขากันต่อ แหม ไม่งั้น เค้าจะเรียกเราชมรมเท้ากีบเหรอ เดินไป เดินไป พบทุ่งกระจูดใหญ่ ทำให้นึกถึง ทุ่งกระจูด ที่เป็นลานช่วยชีวิต ของสมาชิกที่เดินเส้นหกพู กัน รายละเอียดนั้นไปหาอ่านกันใน trekkingthai.com นะครับ สำหรับเรามาถึงนี้ก็เก็บภาพกันซะหน่อย กับข้าวกำ ที่เจอในที่สูงขนาดนี้ จึงดูจะเป็น สีสรรและจุดสนใจ ให้สมาชิกในทริปได้ไม่น้อย เมื่อยามบ่ายคล้อย เราก็ได้เวลา หม่ำมื้อเที่ยง ท่างกลาง กล้วยไม้ป่า และแล้ว รองเท้านารีคางกบ ก็มีให้เราพบเพียงดอกเดียว ที่ริมทาง ก็สร้างกระแสให้เราได้ เก็บภาพกันอีก 1 ชั่วโมง แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะพวกเราเดินกันไวมาก ขนาดถึงที่พักคืนนี้ ตั้งแต่ยังไม่สี่โมงเย็นเลยครับ กับข้าว อาหารพร้อมสรรพ ก่อนอาทิตย์จะลับขอบฟ้า...




แต่บรรดา สมาชิก ลงความเห็นว่า เราควรจะไปเก็บภาพแสงสุดท้ายกันก่อน

ครับ...แน่นอน ผมเห็นด้วย และเตรียมกล้องพร้อมแล้วเช่นกัน ......... ........ แล้วอีกคืนก็ผ่านพ้นไป ตามกำหนด เราจะนอนกันที่จุดใดจุดหนึ่งอีกสักคืน ...แต่สมาชิกเรา สงสัยกลัวควายหายครับ เดินซะกลับออกสวนยางชาวบ้านเลย....สรุปคือคืนนี้เรากลับไปนอนริมลำธารที่บ้านคีรีวง กัน และผลจากการที่เราเดินกันเร็วเหลือเกินนี่เอง วันนี้ เราจึงมีเวลาว่างทั้งวัน เข้าพี่เล็ก staff บ้านคีรีวง จึงพาเราไปเล่นน้ำตก และเที่ยง ก็ไปปล่อยเราไว้ที่วัดพระธาตุ ให้เราได้ถ่ายรูปตามใจชอบ แน่นอนครับว่านั่นหลังจากเราจัดการเรื่องตั๋ว และสัมภาระ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทริปนี้จึง สนุก สมใจ และอิ่มบุญกันไปตาม ๆ กัน

2 ความคิดเห็น:

www.thaimean.com กล่าวว่า...

ภาพสวยครับ...ความตั้งใจเป็นเยี่ยม

เจอท่านบนรถทัวร์ ตอนกลับกรุงเทพ


ผมขอนามบัตร...
ไม่รู้จำได้หรือไม่

Phoenix กล่าวว่า...

จำได้ครับ
ขอบคุณที่เข้ามาทักทายครับ รูปชุดที่เพิ่มไป ยังไม่ได้ลงเลยครับ กลับมาจากทริปนั้น notebook พัง ยังทำใจรอ commart ปลาย มิถนายน นี้ครับ