วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กาลักน้ำ...ความรู้พื้น สู่แนวทางการแก้ปัญหา วิกฤติน้ำ ปี 54

กาลักน้ำ..คำนี้อาจจะไม่คุ้น หรือนึกไม่ออกสำหรับ หลายๆ คน แต่ถ้าได้เห็นภาพ หลายคนคงร้องอ๋อเพราะก็เห็นเป็นปกติ อยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน และมันก็เป็นอะไรที่สามารถทำได้จริง
ดูหลักการณ์ทำงานกันดีกว่า
 จาก http://th.wikipedia.org/
กาลักน้ำ (อังกฤษ: siphon หรือ syphon) เป็นกระบวนการถ่ายเทของเหลว จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยหลักการของแรงดันน้ำมาช่วย ในการทำกาลักน้ำ จะต้องมีหลอด หรือท่อสำหรับการถ่ายเทของเหลวนั้นๆ โดยที่ของเหลวที่จะถ่ายออก จะต้องมีระดับความสูงมากกว่าระดับของเหลวในภาชนะที่รองรับ

 ประวัติ

คาดว่าผู้ค้นพบหลักการกาลักน้ำเป็นคนแรก คือ "คเทซิบิอัส" (Ctesibius) [1] "เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย" (Hero of Alexandria) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขาได้เขียนเรื่องนี้เอาไว้อย่างละเอียด ในหนังสือชื่อว่า "พนิวมาติคา" (Pneumatica) [2] แต่ภาพสลักบนผนังศิลาของอียิปต์เมื่อ ราว 1500 ปีก่อนคริสตกาล ก็ยังปรากฏภาพการใช้หลักการกาลักน้ำเพื่อดึงของเหลวจากไหขนาดใหญ่ [3]
มีประวัติเล่าว่ากองทัพเรือไบแซนไทน์เคยใช้หลักกาลักน้ำเป็นอาวุธ และวิธีการที่นิยมโดยทั่วไป ก็คือ ใช้เพื่อพ่น "ไฟกรีก" (Greek fire) อันเป็นสูตรน้ำมันเผาไหม้ ให้พุ่งผ่านท่อทองเหลืองขนาดใหญ่ ไปตกบนเรือของข้าศึก โดยมีการเก็บของเหลวไว้ในถังร้อนอัดที่ถูกอัด และพ้นผ่านท่อดังกล่าวโดยมีอุปกรณ์บางอย่างช่วยสูบ ส่วนผู้ควบคุมเครื่องนั้นจะซ่อนหลังโล่โลหะขนาดใหญ่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเป็นการใช้หลักกาลักน้ำจริงๆ หรือใช้อุปกรณ์สูบน้ำ ที่ใช้แรงดันอากาศเพื่อพ่นไฟดังกล่าวออกมา


ตัวอย่างการนำไปใช้ http://www.proton.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=1446&Itemid=4




http://www.ninekaow.com/wbs/?action=view&sub=04&id=0000943










ไม่มีความคิดเห็น: